fbpx

พร้อมส่งผิวสวยแล้ว..วันนี้

โครงสร้างผิวหนัง

แชร์หน้านี้

โครงสร้างผิวหนัง

แชร์หน้านี้

ผิวหนังประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis), ชั้นหนังแท้ (Dermis) และชั้นไขมัน (Subcutis) ในแต่ละชั้นจะแบ่งเป็นชั้นย่อยๆอีกหลายชั้น และมีต่อมต่างๆอีกมากมายเช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน เป็นต้น ซึ่งจะมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป

ผิวหนังประกอบด้วย 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis), ชั้นหนังแท้ (Dermis) และชั้นไขมัน (Subcutis)

ผิวชั้นหนังกำพร้า (Epidermis)

ชั้นหนังกำพร้า เป็นชั้นที่อยู่นอกสุด ทำหน้าที่ช่วยปกป้องผิวเราจากสารพิษ, แบคทีเรีย และการสูญเสียน้ำ ชั้นหนังกำพร้านี้จะมีอีก 5 ชั้นย่อย ซึ่งจะมีส่วนในกระบวนการผลัดเซลล์ผิว (Keratinisation) ประกอบด้วย

  1. Basal layer หรือ Stratum basale: เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุด ที่ซึ่งเซลล์ keratinocyte ถูกผลิต และถือว่าเป็นชั้นที่เซลล์ยังมีชีวิต
  2. Prickle layer หรือ Stratum spinosum: เซลล์Keratinocyte ในส่วนนี้จะผลิตโปรตีนที่เรียกว่า Keratin ซึ่งจะมีลักษณะเล็กเรียว
  3. Granular layer หรือ Stratum granulosum: ชั้นนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลัดเซลล์ผิว (Keratinisation) เซลล์จะเริ่มมีลักษณะแข็ง และเริ่มเปลี่ยนเป็น Keratin และ lipids
  4. Clear layer หรือ Stratum lucidium: เซลล์ในชั้นนี้จะอัดตัวกันอยู่อย่างหนาแน่น และมีลักษณะแบนราบ ไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้
  5. Horny layer หรือ Stratum corneum: มีลักษณะเป็นเซลล์แบนๆ เรียงกันขนานกับผิว เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งจะหลุดลอกออกเป็นขี้ไคล (Desquamation process)

ด้านบนสุดของผิวหนังคือชั้นที่เรียกว่า ฮอร์นี่เลเยอร์ (horny layer) เป็นที่ซึ่งมีแต่เซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการปกป้องผิว เซลล์ใน horny layer จะถูกจับยึดกันไว้ด้วยไลปิด แบริเออร์ (lipids barriers) ซึ่งไลปิดเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน และมอยส์เจอไรเซอร์ให้ความชุ่มชื้น ถ้าผิวของเราขาดไลปิดก็จะทำให้ผิวแห้งหยาบ ลอกเป็นขุย

ชั้นหนังกำพร้าถูกปกคลุมด้วยน้ำและไลปิด ที่เรียกว่า Hydrolipid film ทำหน้าที่ช่วยทำให้ผิวอ่อนนุ่ม และปกป้องผิวจากแบคทีเรีย เชื้อราต่างๆ โดยปกติ hydrolipid film จะถูกรักษาไว้โดยต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน

ส่วนที่ประกอบเป็นน้ำของ hydrolipid film ประกอบด้วย

  • กรดแลคติก (Lactic acid) และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด ที่ได้จากต่อมเหงื่อ
  • กรดไขมัน (Free fatty acid) จากน้ำมัน (Sebum)
  • กรดอะมิโน เช่น pyrrolidine carboxylic acid และ สารให้ความชุ่มชื่นอื่นๆ (NMF) ซึ่งได้มาจากกระบวนการ Keratinisation

ภายในชั้นฮอร์นี่เลเยอร์ หรือเซลล์ผิวที่ตายแล้วนั้น จะถูกจับยึดไว้ด้วยไลปิด ซึ่งจะช่วยให้ผิวแลดูสุขภาพดี การปกป้องผิวด้วยความเป็นกรดเหล่านี้ ทำให้ผิวมีค่าเป็นกรดอ่อนอยู่ pH 5.4-5.9 ซึ่งมีประโยชน์ดังนี้

  • ช่วยปกป้องผิวจากแบคทีเรีย
  • ช่วยในกระบวนการสร้างไลปิด แบริเออร์
  • ช่วยกระตุ้นเอ็นไซม์ในการหลุดลอกของขี้ไคล
  • ช่วยให้เซลล์ผิวเกิดการซ่อมแซมตัวเองได้เมื่อเซลล์เกิดความเสียหาย

ผิวชั้นหนังกำพร้านี้มีความหนาเพียง 0.1 มม. ซึ่งส่วนที่บอบบางที่สุดคือบริเวณรอบดวงตา (0.05 มม.) และหนาสุดคือบริเวณฝ่าเท้า (1-5 มม.) สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง เข้าใจความแตกต่างในแต่ละส่วนของร่างกาย และความแตกต่างระหว่างผิวผู้หญิงกับผู้ชาย

ผิวหนังชั้นหนังแท้ (Dermis)

ชั้นหนังแท้ เป็นชั้นที่ความหนา และมีความยืดหยุ่น ประกอบด้วย 2 ชั้นย่อยๆ ได้แก่

  1. The lower layer (or stratum reticulare) : เป็นส่วนที่อยู่ลึกสุด และมีความหนา ซึ่งในชั้นนี้จะมีการผลิตของเหลวกั้นชั้นของไขมัน (Subcutis) ไว้อีกด้วย
  2. The upper layer (or stratum papillare) : มีลักษณะของขอบเหมือนคลื่น กั้นระหว่างชั้นหนังกำพร้า

ชั้นหนังแท้นี้ประกอบด้วยชั้นที่มีความหนาอยู่เหนือชั้นไขมัน และชั้นมีลักษณะเหมือนคลื่นอยู่ใต้ชั้นผิวหนังกำพร้า

องค์ประกอบหลักที่พบในชั้นหนังแท้คือ คอลลาเจน และ อิลาสติน, เนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งให้ความแข็งแรง และความยืดหยุ่น ช่วยให้ผิวมีสุภาพดี ดูอ่อนเยาว์ เส้นใยเหล่านี้จะถูกตรึงไว้ด้วยสารที่ลักษณะคล้ายเจล หรือสาร hyaluronic acid ซึ่งมีความสามารถในการจับน้ำได้ดี และช่วยรักษาปริมาตรของผิวเอาไว้อีกด้วย

กิจวัตรประจำวัน และปัจจัยภายนอก เช่น แสงแดด การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ มีผลต่อระดับคอลลาเจน อิลาสติน ขณะที่เมื่ออายุเพิ่มขึ้น การผลิตคอลลาเจน อิลาสติน และความสามารถในการจับกับน้ำของไฮยาลูรอนก็ลดลง ผิวขาดความกระชับ ยืดหยุ่น เกิดริ้วรอย

ชั้นหนังแท้นี้ยังเป็นที่อยู่ของ

  1. ต่อมน้ำเหลือง
  2. ประสาทรับความรู้สึก
  3. รูรากขน/ผม

ชั้นหนังแท้ช่วยรองรับแรงกระแทก กักเก็บสารอาหาร ขับถ่ายของเสีย

ผิวหนังชั้นไขมัน (Subcutis)

ชั้นไขมัน จะอยู่ในสุดของชั้นผิวหนัง มักประกอบด้วย

  • เซลล์ไขมัน (adipocytes & special collagen fibres)
  • โปรตีนคอลลาเจน และหลอดเลือดต่างๆที่มาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก ทำหน้าที่กักเก็บพลังงาน เป็นเหมือนเบาะกันกระแทกให้กับอวัยวะภายใน

จำนวนของเซลล์ไขมันที่อยู่ในชั้นไขมันจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละส่วนของร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นการกระจายตัวของไขมันยังมีความแตกต่งกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายอีกด้วย ผิวหนังจะการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของชีวิต

ภายในชั้นไขมันจะมีเซลล์ไขมัน และหลอดเลือดอยู่เป็นจำนวนมาก

แชร์หน้านี้

0